23 สิงหาคม 2552

ตะลึง!!!"วิดีโอ"จอจิ๋วในหน้านิตยสาร

ปีที่แล้ว Esquire ทำให้ทั่วโลกต้องหันกลับมามองนิตยสารเล่มนี้กันอีกครั้ง เมื่อฉบับพิเศษในเดือนดังกล่าวได้แทรกโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์เข้าไปในเล่ม โดยใช้เทคโนโลยี E-Ink ล่าสุดบริษัทผู้ผลิตน้ำดำอย่าง Pepsi ร่วมกับเครือข่ายสถานีโทรทัศน์ CBS และ Time Warner กำลังจะใส่"วิดีโอ"ลงไปในนิตยสาร Entertainment Weekly ฉบับเดือนกันยายนนี้

การร่วมมือของสามยักษ์ใหญ่ในการแทรกโฆษณาที่เป็นวิดีโอเข้าไปในนิตยสาร ด้วยเทคโนโลยี Video In Print (VIP) จะทำให้ผู้อ่านได้สัมผัสกับประสบการ์ณใหม่ในการรับชมโฆษณา โดยหน้าจอวิดีโอที่อยู่ในหน้านิตยสารจะสามารถโต้ตอบการทำงานกับผู้อ่านได้ สำหรับโฆษณาชิ้นดังกล่าวจะปรากฎในนิตยสาร Entertainment Weekly ฉบับวันที่ 18 กันยายน ศกนี้

สำหรับ จอวิดิโอที่อยู่ในนิตยสารจะไปพร้อมกับแบตเตอรี่แบบชาร์จใหม่ได้ โดยเนื้อหาวิดีโอความยาวทั้งหมด 40 นาทีจะอยู่ภายในไมโครชิป เมื่อผู้อ่านเปิดหน้าโฆษณาดังกล่าวขึ้นมา วิดีโอจะถูกโหลดให้เล่นโดยอัตโนมัติ (กลไกการเปิดจะทำคล้ายการ์ดดนตรีที่ใช้กระดาษทำเป็นลิ้นเลื่่อนให้หน้า สัมผัสของสวิทช์ครบวงจร) ผู้อ่านจะสามารถเลือกชมคลิปวิดีโอ 5 เรื่องผ่านทางปุ่มที่อยู่บริเวณด้านขวาของหน้าโฆษณา

ใน ส่วนของวิดิโอจะเป็นการโปรโมตรายการของ CBS ที่คั่นด้วยโฆษณาเป๊ปซี่ อย่างไรก็ตาม ไม่มีการเปิดเผยถึงต้นทุนในการผลิตโฆษณาลักษณะนี้เข้าไปในนิตยสาร แต่คาดว่า ราคาของ Entertainment Weekly ฉบับดังกล่าวจะแพงกว่าปกติ เนื่องจากต้นทุนของวิดีโอที่แทรกอยู่ในเล่มนั่น เอง

Update: ชมคลิปตัวอย่าง Video In Print Technology คลิกที่นี่

อ้างอิงข้อมูลจาก: Varity


ข่าวจาก www.arip.co.th วันที่ 21 สิงหาคม 2552

13 สิงหาคม 2552

ด่วน!!! ศาลสั่ง MS หยุดขาย Word

รายงานข่าวล่าสุดจากเว็บไซต์บีบีซีนิวส์ระบุว่า ศาลชั้นต้นในสหรัฐฯ ได้สั่งให้บริษัทไมโครซอฟท์จ่ายค่าเสียหายเป็นเงินมากกว่า 290 ล้านเหรียญฯ (ประมาณหนึงหมื่นล้านบาท) ในข้อหาตั้งใจละเมิดสิทธิบัตรของ I4i บริษัทซอฟต์แวร์ในแคนาดา โดยเฉพาะกลไกการทำงานกับไฟล์เอกสารของ Word

สำหรับสิทธิบัตรที่ถูกละเมิดจะว่า ด้วยเรื่องของการประยุกต์ใช้ XML ภาษาโปรแกรมที่ใช้ในการจัดรูปแบบของข้อความ และทำให้ไฟล์ข้อมูลที่ใช้ฟอร์แมตนี้สามารถถูกอ่านขึ้นมาด้วยโปรแกรมต่างๆ ได้ ซึ่งการใช้ XML ในลักษณะดังกล่าวจะพบได้ในซอฟต์แวร์ Microsoft Word โดย Leonard Davis ศาลชั้นต้นในเท็กซัสยังได้ออกคำสั่งห้าม ไม่ให้ไมโครซอฟท์จำหน่ายซอฟต์แวร์ Word อีกด้วย (ซึ่งรวมถึงที่ไปกับชุดโปรแกรม Office)

ใน ส่วนของ I4i ได้จดสิทธิบัตรว่าด้วยการจัดการโครงสร้าง และเนื้อหาของเอกสารแยกจากกัน โดยมี XML เป็นเครื่องมือให้ผูั้ใช้ใช้ในการจัดรูปแบบของเอกสารข้อความ นอกจากนี้ XML ยังถูกใช้ในโปรแกรมเวิร์ดตัวอืนๆ ด้วยอย่างเช่น OpenOffice ด้วย

นอก จากจะโดนค่าปรับถึง 290 ล้านเหรียญฯแล้ว ศาลยังมีคำสั่งห้ามขาย และ/หรือ นำเข้าในสหรัฐฯ สำหรับซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นใดๆ ที่สามารถเปิดไฟล์ XML ที่ได้รับการปรับแต่งอีกด้วย (ไฟล์ที่มีนามสกุล .xml, .docx หรือ .docm) ทั้งนี้ไมโครซอฟท์มีเวลา 60 วันในการปฎิบัติตามคำสั่งศาล อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทจะยื่นอุทธรณ์อย่างแน่นอน "เรารู้สึกผิดหวังกับคำพิพากษาของศาล" Kevin Kutz โฆษกประจำบริษัทไมโครซอฟท์กล่าว "แต่เราก็เชื่อว่า เรามีหลักฐานที่ชัดเจนในการแสดงให้ศาลเห็นว่า เราไม่ได้ละเมิด และสิทธิบัตรของ I4i ใช้ไม่ได้ เราจะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาล"


ข่าวจาก www.arip.co.th วันที่ 13 สิงหาคม 2552

11 สิงหาคม 2552

แน่ใจหรือว่า Google ให้คำตอบดีทีสุด?


[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] หากถามว่าระหว่าง Google, Yahoo และ Bing เสิร์ชตัวไหนเจ๋งสุดในสายตาคุณผู้อ่าน? เชื่อว่า แทบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ตอบ Google อย่างไม่ต้องสงสัย แต่แน่ใจนะว่า นั่นไม่ได้เป็นอคติที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลของแบรนด์ แน่จริง...ลองไม่บอกว่า ผลลัพธ์ที่เห็นอยู่มาจากเว็บไซต์ไหน? แล้วลองให้คะแนนความพอใจอย่างที่ Blind Search ทำ คุณคิดว่าที่หนึ่งยังคงเป็น Google อีก หรือไม่?

Blind Search เครื่องมือค้นหาที่ใช้ทดสอบความพึงพอใจในผลลัพธ์ของเสิร์ชเอ็นจิ้นยอดนิยม อย่าง Google, Yahoo และ Bing โดยผู้ใช้จะได้เห็นผลลัพธ์จากทั้งสามแห่งพร้อมกัน โดยแบ่งหน้าเว็บผลลัพธ์เป็นสามคอลัมน์ แต่จะไม่บอกว่า ผลลัพธ์แต่ละอันนั้นมาจากเสิร์ชเอ็นจิ้นตัวใด และหากผู้ใช้ชอบผลลัพธ์อันไหนก็คลิกปุ่ม "Vote for this search engine" ที่อยู่เหนือคอลัมน์นั้นๆ ระบบจะเก็บรวบรวมคะแนนความพอใจแยกกันไป ฮั่นแน่...คงอยากทราบแล้วใช่ไหมครับว่า ใครเป็นที่หนึ่ง?

ผู้ เชี่ยวชาญเสิร์ชเอ็นจิ้นบางรายกล่าวว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะคิด(ไปเอง)ว่า ผลลัพธ์ของ Google ดีกว่าผลลัพธ์จากเครื่องมือเสิร์ชตัวอื่นๆ เหตุผลก็คือ "มันมาจาก Google" ดังนั้น หากนำโลโก้ของ Google ไปใส่แทนในหน้าผลลัพธ์การค้นหาของ Yahoo ผู้ใช้ก็จะบอกว่า มันให้ผลลัพธ์การค้นหาที่ดีทันที (อิทธิพลของแบรนด์โดยแท้) และที่น่าตลกยิ่งกว่าก็คือ เมื่อเอาโลโก้ของ Yahoo หรือ Bing มาใส่เหนือผลลัพธ์การค้นหาที่ได้จาก Google ผู้ใช้ก็จะไม่มั่นใจ และยังคงคิดว่า ไปให้ Google ค้นหา น่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่านี้...เฮ่อ...

กลับ มาดูที่คะแนนความพึงพอใจของผู้ใช้เครื่องมือ Blind Search ที่โหวตให้คะแนนผลลัพธ์ การค้นหา ซึ่งไม่อาจทราบได้ว่า มาจากเสิร์ชตัวไหน? ผลปรากฎกว่า Google ยังคงเป็นอันดับหนึ่ง แต่ไม่ได้ทิ้งห่างจากอีกสองเจ้าอย่างที่เคยได้ยินจากข่าวสารต่างๆ โดยมีผู้ใช้โหวตให้ Google 44%, Bing 33% และ Yahoo 23% เห็นอย่างนี้ ไมโครซอฟท์คงมีกำลังใจน่าดู แต่มันก็ทำให้เราเห็นว่า อิทธิพลของ Brand นั้นมีจริง


ข่าวจาก www.arip.co.th วันที่ 10 สิงหาคม 2552

04 สิงหาคม 2552

ชาร์จแบตเตอรี่ไร้สาย เทคโนโลยี่ใหม่ที่จะเปลี่ยนอนาคต

ลองคิดดูว่าถ้าถนนในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ ไม่มีสายไฟฟ้าระเกะระกะ กรุงเทพฯ จะสวยขนาดไหน วันนี้จึงนำเทคโนโลยีไร้สายใหม่ ๆ มาเล่าให้ฟังครับ

เริ่มกันที่ Nokia ก่อน Nokia ได้ประกาศออกมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่ากำลังพัฒนาเทคโนโลยีการชาร์จแบตเตอรี่แบบไร้สาย โดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (คลื่นวิทยุ-โทรทัศน์) ที่มีอยู่รอบตัวเรานี่แหละครับเป็นแหล่งพลังงาน หลักการจะเหมือนกับเครื่องรับวิทยุแบบแร่ (crystal radio) ที่แปลงคลื่นวิทยุเป็นกระแสไฟฟ้า โดยตั้งเป้าให้โทรศัพท์มือถือรับพลังงานได้ 50 มิลลิวัตต์ ซึ่งปัจจุบันทำได้เพียง 3 - 5 มิลลิวัตต์

ส่วนอีกด้านหนึ่ง เราย้อนกลับไปดูที่ Intel ในงาน Research@Intel ครั้งที่ 8 ได้มีการแสดงความก้าวหน้าในโครงการชาร์จแบตเตอรี่ไร้สาย ( ยังต้องพึ่งแท่นชาร์จอยู่ ) โดยสามารถให้พลังงานได้ถึง 1-2 วัตต์ในระยะห่างจากแหล่งให้พลังงาน 1 เมตร ส่วนใน Lab ทดลองนั้น สามารถชาร์จ Netbook ด้วยพลังงาน 14 -20 วัตต์ ในระยะห่าง 1 - 2 เมตรได้เรียบร้อยแล้ว

นอกจากเทคโนโลยีการชาร์จแบตเตอรี่แบบไร้สายแล้ว ทาง Intel ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน ใน Notebook ที่ใช้เทคโนโลยี ULV ( Ultra-low voltage ) ซึ่ง CPU จะกินไฟต่ำเพียง 10 วัตต์ ( ใน CPU Atom รุ่นใหม่จะกินไฟเพียง 2 วัตต์ ) จึงทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่นานขึ้น

และหากนำเอาเทคโนโลยีการชาร์จพลังงานแบบไร้สาย มารวมกับเทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน ลองจินตนาการกันดูครับ อนาคตของเราจะเป็นอย่างไร เมื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ไม่ต้องมีสายเชื่อมต่อถึงกันอีก