ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สิ่งที่จะถูกหยิบยกมาพูดถึงในบทความนี้ไม่ใช่ Fash หรือแฟชั่นไอทีที่มาแล้วก็ไป แต่จะเป็น Trend ว่าทิศทางไอทีใดบ้างที่ผู้บริโภคจะได้เห็นในปี 2010 ซึ่งจากการประมวลแล้วพบว่าเทรนด์ที่รวบรวมมาได้นั้นสอดคล้องกันทั้งหมด และมีแนวโน้มว่าสงครามไอทีปีเสือจะดุเดือดมากขึ้น จนเชื่อว่าจะทำให้ตลาดไอทีโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบมโหฬาร
คำถามว่า ปี 2010 ยูสเซอร์จะต้องพบเจออะไรบ้าง หนึ่งหนีไม่พ้น"คลื่นเน็ตบุ๊ก"ในทะเลพีซีที่เชื่อว่ายังไม่ตายง่ายๆ สองคือ"พายุแทปเล็ต"พีซีหน้าจอสัมผัสไร้คีย์บอร์ดที่ถูกมองว่าจะเป็นดาวรุ่ง พุ่งแรงแซงใครๆ สามคือ"กระแสเครื่องอ่านอีบุ๊ก"ซึ่งไม่น่าแปลกใจเพราะโลกกระดาษนั้นเคลื่อนตัวเข้าสู่โลกดิจิตอลแล้ว สี่คือ"มนต์สะกดวินโดวส์ 7 และออฟฟิศ 2010" จากไมโครซอฟท์ที่เชื่อว่าจะสามารถสะกดคนทั้งโลกได้มากขึ้น
ห้าคือ"อาณาจักรทีวีเจนใหม่"ที่กล้าติดชิปคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน บนเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้ไม่ต้องกลัวว่าทีวีจะแฮงก์เหมือนคอมพิวเตอร์ หกคือ"อหังการเครือข่ายสังคม"ซึ่งทุกสำนักฟันธงว่าโซเชีย ลเน็ตเวิร์กกิงในปีหน้าจะเติบโตขึ้นอีก
เจ็ดคือ"ทอร์นาโดไฮสปีด"เชื่อ ว่าผู้ใช้บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตจะเพิ่มขึ้นรวดเร็วในปี 2010 ซึ่งเท่ากับผู้ใช้มีโอกาสติดเชื้อไวรัสคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้นด้วย แปดคือ"สมาร์ทโฟนคำราม"เพราะเสียงคำรามกู่ร้องในสนามรบระหว่างไอโฟน-แบล็กเบอรี่-แอนดรอยด์ในปี 2010 จะดังกึกก้องจนสะเทือนไปทั่วโลก
อย่าง ไรก็ตาม เทรนด์ที่เก้าและสิบนั้นต้องบอกว่า"ยังไม่กล้าฟันธง" ได้แก่ "ทรีจี-ไวแมกซ์"ซึ่งยังไม่มีความแน่นอนว่าจะเป็นรูปเป็นร่างอย่างไรในประเทศ ไทย รวมถึง"โลกใหม่เอ็มคอมเมิร์ซ"ที่จะยังต้องรอความชัดเจนอยู่
*****1. คลื่นเน็ตบุ๊กยังซัด
ปีที่ผ่านมาคอมพิวเตอร์เน็ตบุ๊กหรือพีซีพกพาตัวเล็กราคาประหยัด สามารถเติบโตได้เพราะเศรษฐกิจไม่ดี แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่า ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในปี 2010 ตลาดเน็ตบุ๊กก็จะยังเติบโตอยู่ แต่อาจไม่โตอู้ฟู้เพราะมีคู่แข่ง
สิ่งที่ชี้ว่าเน็ตบุ๊กจะยังเติบโตต่อไปคือการที่อินเทลเปิดตัวชิป Atom รุ่นใหม่นาม n450 ทำให้เน็ตบุ๊กมีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถรองรับภาพยนตร์ความละเอียดสูงหรือ HD ได้แต่ยังไม่เต็มขั้น มีขนาดบางลง ในราคาสบายกระเป๋า แต่สิ่งที่ชี้ว่าคลื่นเน็ตบุ๊กจะไม่ซัดแรงจนเติบโตอู้ฟู้คืออินเทลนั้นระบุ ว่า ชิป n450 นั้นไม่ได้ผลิตมาสำหรับเน็ตบุ๊กอย่างเดียว แต่สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปอื่นๆได้ด้วย ทำให้แล็ปท็อปรุ่นอื่นสามารถหั่นราคาลงเพื่อแข่งกับเน็ตบุ๊กได้อย่างถึงพริก ถึงขิง
สำหรับ ตลาดคอมพิวเตอร์ประหยัดพลังงานพิเศษหรือ CULV เชื่อว่าจะเติบโตไม่รุนแรงในปี 2010 เพราะผู้ผลิตพีซีจะกดราคาเน็ตบุ๊กลงมาแย่งตลาด โดย CULV อาจครองส่วนแบ่งได้ 30% ในปีเสือ
อีกสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปีเสือ คือผู้บริโภคจะสับสนเรื่องสายผลิตภัณฑ์พีซีพกพามากขึ้นอีก เนื่องจากการกำเนิดของ"สมาร์ทบุ๊ก (Smartbook)" คอมพิวเตอร์ตัวเล็กเท่าเน็ตบุ๊ก (หน้าจอไม่เกิน 10 นิ้ว) แต่ใช้ชิป ARM ซึ่งนิยมใช้ในสมาร์ทโฟน รองรับไว-ไฟและ3G ต่ออินเทอร์เน็ตได้ บนราคาที่ถูกกว่าเน็ตบุ๊ก
สรุป แล้ว จากภาพที่มองว่าเน็ตบุ๊กใกล้จะสิ้นชีพในปีนี้ แท้จริงแล้วยังไม่แน่นอน เพราะต้องลุ้นผลการต่อสู้ระหว่างเน็ตบุ๊กกับโน้ตบุ๊ก CULV สมาร์ทบุ๊ก สมาร์ทโฟน และที่สำคัญคือ คอมพิวเตอร์แทปเล็ตที่เชื่อว่าจะเป็นกระแสแรงมากในปี 2010
****2. พายุแทปเล็ต
แทปเล็ตพีซีคือคอมพิวเตอร์พกพาที่หักฝาพับหน้าจอออกไป แล้วนำหน้าจอสัมผัสมาติดไว้ที่แทนคีย์บอร์ด น้ำหนักเบา หน้าจอราว 7-10 นิ้ว ขณะนี้สินค้ากลุ่มแทปเล็ตพีซีเริ่มออกมาวางจำหน่ายอย่างจริงจังแล้ว และได้รับกระแสตอบรับมากมาย
ทั้ง หมดนี้ทำให้นักวิเคราะห์เชื่อว่าพีซีพกพาแต่ละชนิดจะโรมรันแข่งขันอย่างหนัก ในปี 2010 แต่ประเด็นที่จะยังเป็นคำถามสำหรับแทปเล็ตพีซีคือความเชื่อว่า ผู้บริโภคยังไม่ต้องการแทปเล็ตพีซี เพราะประสิทธิภาพที่ไม่หนีจาก CULV เครื่องอ่านอีบุ๊ก และเน็ตบุ๊ก แถมราคาก็ยังอยู่ในระดับที่แข่งขันไม่ได้
****3. กระแสเครื่องอ่านอีบุ๊ก
ปี 2010 ถูกมองว่าจะเป็นปีแห่งสงครามดิสเพลย์ หนึ่งในผู้ร่วมชิงชัยคือเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรืออีรีดเดอร์ (eReader) เชื่อว่ายอดขายอีรีดเดอร์จะทะลุ 6 ล้านเครื่องในปี 2010 บนฝีมือการผลิตของบริษัทไม่ต่ำกว่า 30 แบรนด์ แต่ละแบรนด์มีจำนวนมากกว่า 1 รุ่น
จุดเด่นของอีรีดเดอร์นั้นอยู่ที่การประหยัดพลังงาน เหมาะกับการแสดงผลตำรา อ่านง่าย รองรับไฟล์เอกสารได้หลากหลาย ล่าสุด มีรายงานว่าโรงงานผลิตหน้าจอในประเทศไต้หวันลงมือผลิตจออีอิงค์ชนิดใหม่ที่ มีราคาถูกลง ทำให้เชื่อว่าอุปกรณ์อีรีดเดอร์ทั้งหลายจะมีราคา 99 เหรียญในปีหน้า จากที่ปัจจุบันมีราคาราว 259 เหรียญ
อย่างไรก็ตาม อีรีดเดอร์นั้นมีความสามารถที่จำกัด ค้านกับคำพูดของเจ้าพ่อสตีฟ จ็อบส์ ซีอีโอแอปเปิลที่บอกว่าอุปกรณ์ไอทีต้องทำได้หลายอย่าง ทำให้อนาคตของอีรีดเดอร์ยังมีภาพหมอกปกคลุมอยู่ แถมยังมีข้อจำกัดเรื่องการเปลี่ยนหน้าช้า และยังไม่มีจุดขายที่แข็งพอจะสู้กับคู่แข่งรายอื่นในสงครามดิสเพลย์ ซึ่งยังต้องรอลุ้นว่าอีรีดเดอร์จะแจ้งเกิดได้ในปี 2010 หรือไม่
ความ เคลื่อนไหวที่น่าสนใจของอีรีดเดอร์คือการรวมอีรีดเดอร์และแทปเล็ตพีซี ไว้ด้วยกัน ออกมาในรูปอีรีดเดอร์จอสี 2 จอ หนึ่งในสองจอสามารถต่ออินเทอร์เนตเพื่อเลือกไฟล์อีบุ๊ก
นอกจากนี้ กระแสอีรีดเดอร์ยังปรากฏในอุปกรณ์อื่นๆด้วย นั่นคือโปรแกรมอีรีดเดอร์บนอุปกรณ์พกพาที่ผู้บริโภคสามารถดาวน์โหลดไปติด ตั้งได้ เช่น โปรแกรมคินเดิลฟอร์ไอโฟน เป็นต้น ซึ่งเมื่อสังเกตให้ดีจะพบว่าแพลตฟอร์มอุปกรณ์ แอปพลิเคชัน และอินฟราสตรัคเจอร์ คือพื้นฐานที่สอดคล้องกันของ Gadget ในปี 2010
****4. มนต์สะกดวินโดวส์เซเว่น
สำนัก วิจัยไอดีซีเชื่อว่าปี 2010 ผู้ใช้วินโดวส์เซเว่นจะเติบโตรวดเร็วมากจนมีสัดส่วน 50% เมื่อเทียบกับผู้ใช้ทั่วโลก วินโดวส์เซเว่นจึงเป็นหนึ่งในเทรนด์ที่จะมาแน่นอนในปี 2010
แม้จะมีการใช้งานวินโดวส์เซเว่นแพร่หลาย แต่ปี 2010 จะเป็นปีที่หลายบริษัทพร้อมใจกันออกบริการคลาวด์คอมพิวติง ที่มีแนวคิดหลักว่าผู้ใช้จะเก็บข้อมูลไว้ที่ใดก็ได้ ใช้ข้อมูลได้ไม่สิ้นสุด และสามารถเรียกใช้งานได้ตลอดเวลา ปี 2010 จึงเชื่อว่าพฤติกรรมการใช้ซอฟต์แวร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะเปลี่ยนแปลง ชัดเจนยิ่งขึ้นในปีนี้ จากการติดตั้งซอฟต์แวร์ลงในเครื่อง มาเป็นการเรียกใช้ซอฟต์แวร์จากอินเทอร์เน็ตแทน
ไมโครซอฟท์ จึงต้องรับศึกการต่อสู้ระหว่างโลกเดสก์ท็อปและโลกอินเทอร์เน็ต ด้วยการเปิดตัวบริการ Azure (อะซัวร์) บริการคลาวด์คอมพิวติงที่อาจจะร่วมเป็นอีกแรงสะกดผู้บริโภคในปี 2010
คู่ต่อสู้ตัวแม่ของไมโครซอฟท์ในปีนี้หนีไม่พ้นกูเกิล ที่กำลังจะเปิดตัวระบบปฏิบัติการออนไลน์ของตัวเองในชื่อ ChromeOS กูเกิลระบุว่าโอเอสของตัวเองสามารถทำงานได้ดีบนคอมพิวเตอร์พกพาทั้งเน็ตบุ๊ก และแทปเล็ตพีซี เท่ากับกูเกิลขอมีเอี่ยวในกระแสคอมพ์พกพาที่เชื่อว่าจะเชี่ยวกรากในปี 2010 อย่างเต็มตัว
กูเกิลมองว่าผู้ใช้แล็ปท็อป จะกลายพันธุ์เป็นผู้ใช้เน็ตบุ๊ก ขณะที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนจะกลายเป็นผู้ใช้แทปเล็ตพีซี
****5. อาณาจักรทีวีอินเทอร์เน็ต
ตลาดทีวีอินเทอร์เน็ตในปี 2010 เชื่อว่าจะมีความคึกคักสุดขีด เพราะ นอกจากความสะดวกสบายจากการเล่นอินเทอร์เน็ตบนทีวีจอยักษ์ การตอบโจทย์เรื่องข่าวอัปเดทล่าสุดจากสถานีข่าวในประเทศไทย (เนชันจับมือกับซัมซุง) วิดเจ็ทสารพัดประโยชน์บนหน้าจอทีวี และตัวคอนเทนท์วิดีโอบนอินเทอร์เน็ตในขณะนี้ที่มีคุณภาพและมีความหลากหลาย ไม่ต่างจากคอนเทนท์บนทีวี ล้วนเสริมบารมีให้ทีวีอินเทอร์เน็ตเติบโตในปี 2010 อย่างต่อเนื่อง
อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับทีวี 3 มิติอย่างแว่นตาก็เชื่อว่าจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในปี 2010 ซึ่งล่าสุดมีการผลิตแว่นตา 3 มิติแบบไฟฟ้าด้วย คุณสมบัติคือการปรับเป็นภาพ 3 มิติให้อัตโนมัติ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้มากกว่าแบบไร้ไฟฟ้าที่ผู้บริโภคต้องปรับสายตาเอง ทั้งหมดนี้เป็นเพราะการเปิดตัวทีวี 3 มิติเพื่อเร่งทำตลาดในปี 2010 ของค่ายปลาดิบเช่น พานาโซนิก และโซนี่ ขณะที่ผู้ผลิตฝั่งเกาหลีระบุว่าจะมุ่งพัฒนาระบบกระจายสัญญาณภาพโทรทัศน์ 3 มิติเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับอรรถรสสมจริงจากจอแก้วที่บ้าน
****6. อหังการเครือข่ายสังคม
เมื่อ ทุกอุปกรณ์ไอทีในปี 2010 ล้วนมีฟังก์ชันเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตยืนพื้น การขยายตัวของโซเชียลเน็ตเวิร์กหรือเครือข่ายสังคมจึงเป็นเรื่องที่หนีไม่ พ้น เพราะเมื่ออินเทอร์เน็ตพร้อมเท่าไหร่ ผู้บริโภคก็พร้อมจะอัปเดทคอนเทนท์บนโซเชียลเน็ตเวิร์กมากเท่านั้น
ที่สำคัญ คอนเทนท์ที่เติบโตรวดเร็วจะมีผลต่อเสิร์ชเอนจิ้นหรือระบบค้นหาข้อมูลออนไลน์ ในปี 2010 ด้วย เนื่องจากเสิร์ชเอนจินรายใหญ่อย่างกูเกิลและบิง ประกาศจับมือกับเครือข่ายสังคมทั้งเฟสบุ๊กและทวิตเตอร์เพื่อให้ชาวออนไลน์สา มารถเสิร์ชพบข้อมูลอัปเดทนาทีต่อนาทีในเครือข่ายสังคมได้ กลายเป็นจุดเริ่มต้นของเรียลไทม์เสิร์ชในอนาคต
นอก จากเรียลไทม์เสิร์ช เชื่อว่าเครือข่ายสังคมจะให้กำเนิดตลาด"เรียลไทม์ช็อปปิ้ง" ในปี 2010 ด้วย เช่น การขายของผ่านทวิตเตอร์ ซึ่งผู้ใช้สามารถซื้อได้เลยขณะโฟลโลว์ เป็นต้น
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ใช้เฟสบุ๊กทั้งสิ้น 1.6 ล้านคน และผู้ใช้ทวิตเตอร์ 30,000 คน คาดว่าจะมีการเติบโตราว 3 เท่าตัวในปี 2010
****7. ทอร์นาโดไฮสปีด
ทิศทางอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงนั้นมาแรงมากในปี 2010 สถิติผู้ใช้ในประเทศไทยบรอดแบนด์ขณะนี้มีจำนวนมากกว่า 2 ล้านรายแล้ว คาดว่าจะมีอัตราขยายตัวเกิน 3 ล้านรายในไม่กี่เดือนข้างหน้า ขณะที่ความเร็วอินเทอร์เน็ตสูงสุดในประเทศไทยขณะนี้คือ 30Mbps
เมื่อ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแพร่หลาย สิ่งที่จะเกิดคือความนิยมเรื่องไฟล์แชร์ริ่ง โดยเฉพาะการโหลดบิต ขณะเดียวกัน ภัยออนไลน์ทั้งภัยบ็อตเน็ตและหนอนคอมพิวเตอร์ก็จะหนักขึ้นด้วย โดยในปี 2010 เชื่อกันว่าโปรแกรมให้ผู้บริโภคสร้างมัลแวร์เองจะได้รับความนิยมแพร่หลายมาก ขึ้น รวมถึงภัยเมลหลอกลวงให้ช่วยเหลือสังคม และภัยคุกคามบนอุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เช่น ไอโฟน ก็เชื่อว่าจะมีความเสียหายหนักกว่าเดิม
โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะช่วยกระตุ้นตลาดสมาร์ทโฟนทั้งแอ นดรอยด์ และไอโฟน แต่ก็จะกระตุ้นให้มีการขโมยทรัพยากรเครือข่ายมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ไวรัสบนเครือข่าย, ไวรัสบนวินโดวส์เซเว่น และไวรัสบนแมคอินทอชก็คาดว่าจะวาดลวดลายหนักข้อขึ้นในปี 2010
****8. สมาร์ทโฟนคำราม
เชื่อ ขนมกินได้เลยว่าสมาร์ทโฟนในปี 2010 จะแข่งขันดุเดือดกว่าทุกปีที่เป็นมา มีการคำนวณว่าสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ไม่ต่ำกว่า 50 เครื่องจะพากันแจ้งเกิดในปี 2010 พร้อมกับมีข่าวลือว่าไอโฟนรุ่น 4G จะแจ้งเกิดในเดือนกรกฏาคม 2010 โดยปรับให้มีกล้องดิจิตอลด้านหน้า พร้อมหน้าจอสว่างกว่าเดิม กล้อง 5.2 ล้านพิกเซล รองรับบลูทูธ
คำถามที่เกิดขึ้นคือเมื่อแอนดรอยด์และไอโฟนมาแรง ยักษ์ใหญ่โนเกียจะออกหัวก้อยอย่างไรต่อไป เป็นอีกเรื่องที่โลกต้องลุ้นกันในปี 2010 ขณะเดียวกัน ไมโครซอฟท์ก็ออกมายืนยันชัดเจนแล้วว่าวินโดวส์โมบายล์ 7 จะเปิดตัวในช่วงไตรมาส 4 ปี 2010 ความล่าช้าที่เกิดขึ้นย่อมมีผลต่อการทำตลาดของไมโครซอฟท์ด้วย
ใน ส่วนของตลาดแอปพลิเคชัน ตลาดแอนดรอยด์ถูกประเมินว่าจะมี 80,000 แอปพลิเคชันในปี 2010 จาก 20,000 แอปพลิเคชันในปี 2009 เทียบกับไอโฟนที่มีอยู่แล้วเกิน 100,000 แอปพลิเคชัน
บริษัทวิจัยตลาดประเมินกันว่าสมาร์ทโฟนจะมีสัดส่วนตลาดราว 38% ของตลาดรวมโทรศัพท์มือถือในปี 2013 เพิ่มขึ้นจาก 9% ในปี 2009
***9. Real 3G ยังไม่เห็น
ขณะนี้ ผู้บริโภคชาวไทยบางส่วนเริ่มได้เห็นบริการอินเทอร์เน็ต 3G จากโอเปอเรเตอร์บางค่ายแล้ว คาดว่าจะได้เห็นบริการเพิ่มขึ้นในช่วงกลางปี 2010 อย่างไรก็ตาม บริการประเภท Real 3G หรือบริการ 3G แบบของแท้บนคลื่นความถี่ 2100 MHz นั้นจะเกิดขึ้นในประเทศไทยไม่ทันปลายปี 2010 แน่นอน เนื่องจากโอเปอเรเตอร์จะต้องใช้เวลาติดตั้งระบบอย่างน้อย 6 เดือนหลังได้รับใบอนุญาตหรือไลเซนส์ 3G ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนถึงกำหนดการอนุมัติไลเซนส์อย่างเป็นทางการ
****10. โลกใหม่เอ็มคอมเมิร์ซ
เอ็มคอมเมิร์ซ หรือ M-Banking บริการการเงินบนโทรศัพท์มือถือนั้นถูกมองว่าเป็นเทรนด์แรงของโลกในทุกๆปี แต่กลับไม่มีอิทธิพลเท่าที่ควรในประเทศไทยตลอดเวลาที่ผ่านมา แม้ทุกธนาคารจะมีให้บริการแล้ว แต่สิ่งที่ยังขาดอยู่เสมอคือความมั่นใจผู้บริโภค และพฤติกรรมการซื้อของคนไทยที่ไม่เอื้ออำนวย
ฉะนั้น ความชัดเจนว่ากระแสอินเทอร์เน็ตร้อนแรงในปี 2010 จะช่วยกระตุ้นให้บริการการเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เติบโตยิ่งขึ้น จึงถูกสั่นคลอนเพราะความไม่มั่นใจของผู้บริโภค เอ็มคอมเมิร์ซในปีนี้จึงยังไม่มีทิศทางชัดเจนว่าจะมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นมาก น้อยเท่าใด
**********
10 เทรนด์ไอทีนี้รวบรวมโดย "ประสิทธิ์ วรฉัตราวณิช" รองผู้จัดการทั่วไปและผู้อำนวยการฝ่ายนิวมีเดีย บริษัท เอ.อาร์.อินฟอร์เมชัน แอนด์ พับลิเคชัน จำกัด (ARiP) ผู้จัดงานคอมมาร์ท (Commart) ซึ่งคนไทยรู้จักกันดี
ประสิทธิ์บอกว่าพฤติกรรมผู้บริโภคไอทีประเทศไทยในปี 2010 จะเปลี่ยนมาเป็นการพิจารณา 3 ส่วนหลักก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า ได้แก่ "แฟชั่น ฟังก์ชัน และราคา" ผลคือผู้ค้าในตลาดไอทีก็จะแข่งขันกันใน 3 เรื่องหลักตลอดปี 2010
ข่าวจาก ASTV ผู้จัดการออนไลท์ วันที่ 31 ธันวาคม 2552
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น